แพทย์ประจำบ้านที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขั้นต่ำตามสมรรถนะหลักทั้ง ๖ ด้านดังนี้

  1. การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)
  • มีทักษะในการสัมภาษณ์ทางจิตเวช การตรวจร่างกายการตรวจสภาพจิต การใช้แบบประเมินที่สำคัญ และการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
  • วินิจฉัยบำบัดรักษาภาวะผิดปกติทางจิตเวชศาสตร์ที่พบโดยทั่วไปในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  • บันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ
  • ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพจิต
  1. ความรู้ ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน(Medical Knowledge and Skills)
  • มีความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพจิต จิตวิทยา วิทยาศาสตร์การแพทย์และสังคมที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานด้านจิตเวช
  • มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพและเชี่ยวชาญในสาขาจิตเวชศาสตร์
  1. การเรียนรู้จากการปฏิบัติและการพัฒนาตนเอง (practice-based learning and improvement)
  • วิพากษ์บทความ และดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
  • มีความรู้ในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางการแพทย์ และการแพทย์ เชิงประจักษ์
  • เรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพได้ด้วยตนเองจากการฝึกปฏิบัติ
  1. ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
  • นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ถ่ายทอดความรู้และทักษะ เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำแก่แพทย์นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์
  • สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตาเคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  • มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
  1. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)
  • มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วยญาติผู้ร่วมงานเพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชนอย่างมีอิสระทางวิชาชีพ
  • มีความสามารถในการสำรวจจิตใจ พัฒนาตัวเอง และสามารถบริหารจัดการสถานการณ์ ที่เกี่ยวข้องได้เหมาะสม
  • มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (continuous professional development)มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
  • คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
  1. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
  • มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพ บริบททางสังคม และวัฒนธรรมของประเทศ
  • มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
  • ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม(cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตาม มาตรฐานวิชาชีพ

การประเมินสมรรถนะตาม Entrustable professional activities (EPAs)

                   โรงพยาบาลศรีธัญญา มีการประเมินสมรรถนะตามกิจกรรมวิชาชีพที่เชื่อถือไว้ใจได้ หรือ Entrustable professional activities (EPAs) ที่เป็นกิจกรรมที่สำคัญมากสำหรับทุกคนที่ประกอบวิชาชีพสาขาจิตเวชศาสตร์ซึ่งผู้รับการฝึกอบรมต้องสามารถปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง และปลอดภัยต่อผู้ป่วยจึงบรรลุผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรม โดยมีกิจกรรมที่ต้องประเมินตามที่ราชวิทยาลัยจิตแพทย์ฯ กำหนด ๙ กิจกรรม ดังนี้

          -    EPA ๑     Psychiatric evaluation and diagnosis

          -    EPA ๒     Treatment planning and management

          -    EPA ๓     Psychotherapy

          -    EPA ๔     Somatic therapies (including psychopharmacology and neurostimulation therapies)

          -    EPA ๕     Clinical consultation-liaison

          -    EPA ๖     Interprofessional and team communication

          -    EPA ๗     Development and execution of lifelong learning through constant self-evaluation (including critical evaluation of research and clinical evidence)

          -    EPA ๘     Professional behavior and ethical principles

          -    EPA ๙     Patient safety

 

 

 

 

Thursday the 5th. - Templates Joomla